รายละเอียดการเรียกร้องสินไหมทดแทนจากการประกันอุบัติเหตุ
รายละเอียดการเรียกร้องสินไหมทดแทนจากการประกันอุบัติเหตุ งานบริการและสวัสดิการ กองพัฒนานักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
1.การเรียกร้องค่ารักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุ (เบิกค่ารักษาพยาบาลได้วงเงิน 10,500 บาท ต่อหนึ่งอุบัติเหตุ)
1.1 ไปพบแพทย์แผนปัจจุบัน เช่น โรงพยาบาล หรือคลินิกที่ใกล้และสะดวกที่สุด เพื่อรักษาพยาบาล
1.2 รับการรักษาอย่างต่อเนื่องจนอาการหายปกติ โดยทุกครั้งที่ไปรักษาให้เก็บใบเสร็จรับเงินและ ใบรับรองแพทย์ฉบับจริงทุกครั้ง
1.3 นำใบรับรองแพทย์ (ฉบับจริง)(คลินิกหรือโรงพยาบาล) ระบุสาเหตุ อาการ และตำแหน่งที่ได้รับ บาดเจ็บให้ชัดเจน ตั้งแต่ วันแรก – วันสุดท้ายที่รักษา
1.4 นำใบเสร็จรับเงิน (ฉบับจริง) สำเนาใบเสร็จเบิกไม่ได้ ยกเว้น ส่วนที่เหลือและต้องมีหนังสือรับรอง ส่วนที่เบิกแล้ว กรณีใบเสร็จเป็นใบเสร็จแจ้งยอดรวมหรือใบเสร็จเป็นแบบสลิป ต้องมีใบสรุปหน้างบ แจงรายละเอียดค่ารักษาพยาบาลแนบมาด้วยพร้อมประทับตราสถานพยาบาลมาด้วย
1.5 มาติดต่อที่ งานบริการและสวัสดิการ กองพัฒนานักศึกษา เพื่อกรองใบเรียกร้องค่ารักษาพยาบาลของ บริษัทฯ ที่ห้อง 32-308 ชั้น 3 อาคารกิจการนักศึกษา (อาคาร 32)
1.6 กรณีถูกทำร้ายร่างกายต้องมีบันทึกประจำวันจากสถานีตำรวจ
1.7 รอการแจ้งผลการเบิกค่าสินไหมทดแทนทางโทรศัพท์ (ตามเบอร์ที่นักศึกษาแจ้งไว้) ประมาณ 2-3 สัปดาห์ หลังจากยื่นเอกสาร หรือติดตามการประกาศรายชื่อผ่านทางเว็บไซต์ของกองพัฒนานักศึกษา https://op.chandra.ac.th/dsd หัวข้อ งานบริการและสวัสดิการ > ประกันอุบัติเหตุ/ สินไหมทดแทน > ตรวจสอบสถานะเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน
1.8 การปลอมแปลงเอกสารหรือข้อมูลเป็นเท็จเพื่อเรียกร้องค่าสินไหม มีความผิดตามกฎหมายและอาจทำ ให้เสียสิทธิในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน
1.9 บริษัทฯ ได้ติดต่อโรงพยาบาลเปาโล (เกษตร) ให้บริการรักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุโดยไม่ต้องชำระค่ารักษาพยาบาล ยกเว้นค่ารักษาพยาบาลที่เบิกไม่ได้ จะต้องยื่นบัตรประจำตัวนักศึกษาพร้อมบัตรประชาชนและใบส่งตัวจากมหาวิทยาลัยให้เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลด้วย ค่ารักษาในวงเงินไม่เกิน 10,500 บาท ต่อหนึ่งอุบัติเหตุ ส่วนที่วงเงินเกินผู้บาดเจ็บต้องรับผิดชอบเอง
2. อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นต้องพบแพทย์เพื่อรักษาพยาบาลภายใน 24 ชั่วโมง และต้องเรียกร้องค่ารักษาพยาบาลมายัง บริษัทฯ ภายใน 1 ปีการศึกษา จากวันที่เกิดอุบัติเหตุ
3. อุบัติเหตุคือเหตุกระทบกระแทกอันมิได้เกิดจากความตั้งใจ เจตนา เจาะจง สิ่งของภายนอกตัวมากระทบตัวทำ ให้เห็นอาการชัดเจน เช่น บาดแผล เขียว ซ้ำ บวก ฉีก รอยเขี้ยวเล็บของสัตว์ กระดูกแตกหัก
4. ข้อยกเว้นที่ไม่คุ้มครอง และไม่สามารถเบิกได้
4.1 การเจ็บป่วยธรรมดา การติดเชื้อที่ไม่ได้เกิดจากอุบัติเหตุ
4.2 อุบัติเหตุที่ไม่ปรากฏบาดแผลชัดเจน ปวดเมื่อย ปวดคอ ปวดหลัง กล้ามเนื้ออักเสบเอ็นอักเสบจากโรค ประจำตัว หรือเล่นกีฬาหักโหม การยกของหนัก
4.3 การรักษาฟัน การรักษารากฟัน หรือการเปลี่ยนใส่ฟันปลอม ยกเว้นการถอนฟันเนื่องจากอุบัติเหตุ
4.4 การฆ่าตัวตาย ทำร้ายตัวเอง ภัยอาชญากรรม ภัยจลาจลสงคราม การแข่งขันรถทุกชนิด การแข่งขัน ชกมวย การแข่งขันเรือ ฯลฯ
4.5 การกระทำขณะอยู่ภายใต้ฤทธิ์สุรา สารเสพติด หรือยาเสพติดให้โทษจนไม่สามารถครองสติได้
4.6 การเข้าร่วมทะเลาะวิวาทหรือมีส่วนยั่วยุให้เกิดการทะเลาะวิวาท ยกเว้น ถูกทำร้ายร่างกายและต้องมี ใบบันทึกประจำวันของตำรวจที่แจ้งความเพื่อดำเนินคดี แนบมาด้วย
4.7 การคุ้มครองจะสิ้นสุดทันทีเมื่อพ้นสภาพนักศึกษาด้วยการลาออกจากสถานศึกษาเป็นทางการหรือพ้น สภาพนักศึกษาตามระเบียบการเงินและทะเบียนวัดผล
4.8 ค่ารถแท็กซี่,ค่าโทรศัพท์,ค่าอาหารและเครื่องดื่ม,ค่าบัตรคนไข้,ค่านิติเวช,ค่าอื่นๆ (ที่ไม่ระบุว่าเป็นค่าอะไร)อุปกรณ์พิเศษในการรักษาโดยที่ซื้อใช้เอง,ค่าใช้จ่ายการออกใบรับรองแพทย์ไม่ สามารถเบิกได้
4.9 ใบแจ้งหนี้หรือใบเสร็จชั่วคราวไม่สามารถเบิกได้และใบเสร็จร้านขายยาเบิกไม่ได้ ยกเว้นกรณีแพทย์ออก ใบสั่งซื้อยาและต้องนำเอกสารใบสั่งของแพทย์แนบมาด้วย
5. กรณีเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ (ทุนประกัน 200,000 บาท ต่อคน) เอกสารที่ต้องยื่นเพื่อเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน ประกอบด้วยดังนี้
5.1 สำเนาบันทึกประจำวันของสถานีตำรวจ ตั้งแต่รับแจ้งเหตุจบสิ้นสุดผลคดี
5.2 สำเนารายงานการชันสูตรพลิกศพของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
5.3 สำเนาหนังสือรับรองการตายจากโรงพยาบาล
5.4 สำเนาใบมรณะบัตร
5.5 สำเนาบัตรประจำตัวผู้เสียชีวิต เช่น บัตรประจำตัวนักศึกษา หรือบัตรที่ทางราชการออกให้หรือหนังสือ รับรองของสถานที่ศึกษาออกให้
5.6 สำเนาทะเบียนบ้านผู้เสียชีวิต (ที่ระบุคำว่า “ตาย”) 5.7 สำเนาบัตรประจำตัวและสำเนาทะเบียนบ้านผู้รับผลประโยชน์ (บิดา-มารดา) รับรองสำเนาถูกต้อง 5.8 สำเนาทะเบียนสมรสของผู้รับผลประโยชน์ (บิดา-มารดา) รับรองสำเนาถูกต้อง
6. กรณีเสียชีวิตจากการเจ็บป่วย (ทุนประกัน 40,000 บาท ต่อคน) เอกสารที่ต้องยื่นเพื่อเรียกร้องค่าสินไหม ทดแทนประกอบด้วยดังนี้
5.1 สำเนาบันทึกประจำวันของสถานีตำรวจ ตั้งแต่รับแจ้งเหตุจบสิ้นสุดผลคดี
5.2 สำเนารายงานการชันสูตรพลิกศพของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
5.3 สำเนาหนังสือรับรองการตายจากโรงพยาบาล
5.4 สำเนาใบมรณะบัตร
5.5 สำเนาบัตรประจำตัวผู้เสียชีวิต เช่น บัตรประจำตัวนักศึกษา หรือบัตรที่ทางราชการออกให้หรือหนังสือ รับรองของสถานที่ศึกษาออกให้
5.6 สำเนาทะเบียนบ้านผู้เสียชีวิต (ที่ระบุคำว่า “ตาย”)
5.7 สำเนาบัตรประจำตัวและสำเนาทะเบียนบ้านผู้รับผลประโยชน์ (บิดา-มารดา) รับรองสำเนาถูกต้อง
5.8 สำเนาทะเบียนสมรสของผู้รับผลประโยชน์ (บิดา-มารดา) รับรองสำเนาถูกต้อง
(ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน 2567)